วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ลำโพง


ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆได้มีการพัฒนาขึ้นไปมาก จากแต่ก่อนรวมไปถึงลำโพงที่มีไว้สำหรับต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ของเราด้วย ที่ได้พัฒนามากขึ้นเช่นกัน ลำโพงสามารถให้ความบันเทิงสำหรับผู้ที่สนใจพลังเสียงอันไพเราะของลำโพงเหล่านี้ โดยใช้สำหรับในการชมภาพยนต์ที่ท่านชื่นชอบ ใช้ในการฟังเพลงโปรด ใช้ในการเล่นเกมต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้สำหรับในการฟังเพลงและดูหนังบนอินเตอร์เน็ต เป็นการเพิ่มอรรถรสในการฟังที่มากขึ้น สำหรับผู้ที่ซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้งาน แน่ใจเหลือเกินว่าผู้ซื้อจำเป็นต้องหาลำโพงสักตัวมาด้วยเป็นแน่แท้ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาใช้งานที่บ้าน และต้องการให้บ้านของท่านมีความครึกครื้นจากระบบเสียงนี้ ลำโพงมัลติมีเดียเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้และเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากเลยนะครับ ลำโพงคอมพิวเตอร์นั้นมีอยู่มากมายหลายรุ่นหลายยี่ห้อให้เลือกใช้กัน แต่ละรุ่นก็มีเสียงที่แตกต่างกันออกไป เสียงดังกับเสียงดีนั้นเป็นเสียงที่คนละอย่างกัน เสียงดีย่อมประกอบไปด้วย เสียงที่มีความใส มีเสียงทุ้ม เสียงแหลม ออกมาอย่างครบถ้วน สามารถให้ความบันเทิงได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งแตกต่างจากเสียงดัง เพราะบางทีนั้นลำโพงที่ให้เสียงดังอย่างเดียวแต่ไม่สามารถให้เสียงที่ไพเราะได้ ก็ไม่ควรเลือกซื้อมาใช้กัน แต่ลำโพงที่มีคุณภาพนั้นต้องแลกกับการที่ต้องเพิ่มเงินในการซื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม แต่เมื่อแลกกับความรื่นรมย์ในการใช้คอมพิวเตอร์แล้วนับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก ลำโพงนี้สามารถที่จะทำให้คอมพิวเตอร์กลายเป็นชุดเครื่องเสียงแบบมินิคอมโปได้ เป็นการเพิ่มบรรยากาศในการใช้งานที่มากขึ้น
ในการเลือกซื้อจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับลำโพงแบบต่างๆ ให้เข้าใจก่อนว่าแต่ละรุ่นมีการใช้งานอย่างไร แล้วเหมาะกับความต้องการของท่านมากน้อยเพียงไหน ดังนั้น เราจึงต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆของลำโพงกันก่อนนะครับ เพื่อที่จะทำให้ท่านได้ลำโพงที่มีคุณภาพ และเหมาะกับการใช้งานของท่านมากที่สุด

ชนิดของลำโพง
เมื่อเราสังเกตลำโพงในอดีตที่ผ่านมา คุณลักษณะที่สำคัญของลำโพงที่จะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้น ที่จะต้องมีก็คือ การที่มีคุณสมบัติในการป้องการสนามแม่เหล็ก (Magnetic Shield) เพื่อที่จะป้องกันสนามแม่เหล็กจากลำโพงไปรบกวนการทำงานของจอมอนิเตอร์ ซึ่งอาจทำให้การแสดงผลของมอนิเตอร์ผิดพลาดได้ เช่นจอมอนิเตอร์มีสีที่ผิดปรกติเปลี่ยนไปจากเดิม และอาจทำให้มอนิเตอร์เสียหายได้ ส่วนทางด้านคุณภาพเสียง นั้นยังไม่เป็นที่สนใจมากนัก เนื่องจากตอนนั้น เสียงที่ต้องการจากคอมพิวเตอร์ มักจะมาจากการเล่นการฟังเพลงและการเล่นเกมเป็นหลัก ที่ในขณะนั้นคุณภาพเสียงที่ออกมา ยังมีคุณภาพไม่สูงมากนัก และการ์ดเสียงในขณะนั้น ก็ยังมีราคาที่สูงอยู่ แต่คุณภาพไม่ได้สูงตามไปด้วย ลำโพงสมัยก่อนจะมีเพียง แบบ 2 ลำโพงเท่านั้น โดยถ้าแบ่งชนิดของลำโพง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดก็คือ
1.ขยายเสียงในตัว
2.แบบที่ไม่มีวงจรขยายเสียง
สำหรับลำโพงที่ไม่วงจรขยายเสียงในตัวนั้น ขนาดของกรวยลำโพงที่ใช้ ภายในตัวลำโพงจะมีขนาดเล็กประมาณ 2 นิ้วเท่านั้น ลำโพงชนิดนี้จะใช้ความสามารถของการ์ดเสียง ในการขยายเสียงออกลำโพง การใช้ลำโพงประเภทนี้จึงต้องการการ์ดเสียง ที่มีวงจรขยายเสียงมาด้วย อย่างเช่นซาวนด์การ์ด Creative SB Vibra 128 เมื่อก่อนจะมีออปชันในการปรับเสียงต่างเบส ความดังของเสียง ไม่เช่นนั้นเสียงที่ออกมา จะไม่ดังเพียงพอต่อการรับฟังของคุณ คุณภาพเสียงที่ออกมาจะขึ้นอยู่กับการ์ดเสียงเป็นหลัก ลำโพงชนิดนี้จะไม่มีปุ่มปรับเสียงใดๆค่ะนตัวลำโพง โดยจะต้องปรับจากซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของการ์ดเสียงบนวินโดว์โดยตรง ลำโพงอีกชนิดหนึ่งก็คือ ลำโพงที่มีวงจรขยายเสียงภายในตัว ตัวลำโพงก็จะปุ่มสำหรับปรับเสียงต่างๆ เช่น ปุ่ม Volume สำหรับปรับความดังของเสียง ปุ่ม Base สำหรับปรับระดับความดังของเสียงทุ้มและปุ่ม Treble สำหรับปรับระดับความดังของเสียงแหลม อันนี้แล้วแต่ว่าการออกแบบของลำโพงเหล่านี้เป็นอย่างไร

ส่วนประกอบของลำโพง
ลำโพงที่เราเห็นอยู่ในท้องตลาดนั้น โดยส่วนใหญ่ลำโพงจะอยู่ในรูปของตู้ลำโพงที่อาจจะทำจากไม้ หรือพลาสติกที่มีความทนทาน ซึ่งลำโพงที่ใช้กับคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่จะมีตู้ลำโพงที่ทำขึ้นจากพลาสติก โดยภายในจะประกอบด้วย Driver หรือตัวดอกลำโพงซึ่งจะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้กำเนิดเสียง ซึ่งได้แก่ Amplifier และ Crossover Network ซึ่งอุปกรณ์ภายในเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดขนาดหรือรูปแบบเสียงของลำโพงที่ออกมา จำนวนดอกลำโพงที่ใช้ก็จะมีผลต่อความเป็นธรรมชาติของเสียงที่ออกมา ถ้ามีดอกลำโพงหลายตัวก็จะทำให้เสียงที่ได้ครอบคลุมย่านความถี่ของเสียงได้มากกว่า ให้รายละเอียดของทุกชิ้นเครื่องดนตรีได้ดีกว่า ลำโพงแบบ 2 ทาง จะประกอบด้วยลำโพง ของวูเฟอร์ และทวีตเตอร์ ในย่านความถี่เสียงกลางและเสียงต่ำจะถูกขับออกทางวูเฟอร์ ส่วนความถี่เสียงสูงก็จะถูกขับออกทางทวีตเตอร์ สำหรับลำโพงแบบ 3 ทาง ก็จะประกอบด้วยค่ะวูเฟอร์, วูเฟอร์ และทวีตเตอร์ เสียงต่ำสุดก็จะถูกขับออกทางซับวูเฟอร์ เสียงกลางจะถูกขับออกทางวูเฟอร์ และเสียงแหลมก็จะถูกขับออกทางทวีตเตอร์


ลำโพงแบบหลายทางจำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Crossover Network เป็นตัวแบ่งสัญญาณเสียงในแต่ละย่านออกจากกัน และจ่ายไปให้ลำโพงที่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะเป็นสองทางหรือสามทางแล้วแต่ว่าเป็นลำโพงแบบไหน นอกจากนี้ Crossover Network ยังทำหน้าที่ในการควบคุมความสมดุลของเสียงในแต่ละย่านความถี่ พร้อมทั้งมีระบบการป้องกันการทำงานที่เกินกำลังของลำโพง และการป้องกันระดับความถี่ของเสียงที่สูงเกินกว่าลำโพงจะรับได้ เรามาดูรายละเอียดเกี่ยวกับลำโพง Tweeter ,ลำโพง Woofer, และลำโพง Sub Woofer กัน


ลำโพง Tweeter ทวีตเตอร์เป็นลำโพงที่ใช้สำหรับขับเสียงความถี่สูง โดยทั่วไปจะมีความถี่เกินจาก 1.5 KHz ขึ้นไป
ลำโพง Woofer ลำโพงวูเฟอร์จะใช้สำหรับขับเสียงความถี่ต่ำ คือในระดับความถี่ไม่เกิน 1.5 KHz เนื่องจากความถี่ต่ำมีความยาวของคลื่นค่อนข้างมาก ลำโพงวูเฟอร์จึงต้องมีขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถขับอากาศได้เพียงพอสำหรับสร้างเสียงความถี่ต่ำ ยิ่งวูเฟอร์มีขนาดใหญ่เท่าใด กำลังในการขับและความดังของเสียงเบสก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น วูเฟอร์จะใช้ในการขับเสียงกลางและเสียงต่ำ
ลำโพง Sub Woofer ซับวูเฟอร์เป็นลำโพงที่ใช้ขับเสียงความถี่ต่ำที่สุด คือในระดับความถี่ถึง 500 Hz ยิ่งขนาดของลำโพงซับวูเฟอร์มีขนาดใหญ่มากเท่าใด พลังในการขับก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น ในระบบลำโพงที่มีซับวูเฟอร์จะให้เสียงในระดับความถี่ต่ำได้ดีเป็นพิเศษ

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

card reader


คือ อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระหว่างหน่วยความจำภายนอกแบบแฟลชการ์ดหรือมีเดียการ์ด กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยพอร์ต USB ในการทำงานโดยจะรองรับคุณสมบัติของหน่วยความจำตามผู้ผลิต เช่น MMC card, RS-MMC, MEMORY STICK, SD card, SDHC คะ ซึ่งมีทั้งที่สามารถรองรับหน่วยความจำได้เพียงชนิดเดียวจนถึงสามารถรองรับได้ทั้งหมด เช่น 2 in 1, 6 in 1 หรือมากว่า 6 in 1 ขึ้นไป ก้อหมายถึงสามารถอ่านการ์ดได้ 6 ชนิดขึ้นไป วิธีการใช้งานก็เอาการ์ดหน่วยความจำภายนอก เช่น MMC หรือ SD Card เสียบเข้าไปในเครื่องอ่านการ์ด (card reader) เครื่องจะอ่านข้อมูลแล้วส่งต่อไปให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หากผู้ใช้ต้องการบันทึกข้อมูลลงไปในการ์ด ก็สามารถทำได้เช่นกันคะ

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Mainboard (แผงวงจรหลัก)


เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมายแต่ส่วนสำคัญๆ ประกอบด้วย

1. ชุดชิพเซ็ต
ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์ แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ โดยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบด้วยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบไปด้วยชิพ 2 ตัว คือชิพ System Controller และชิพ PCI to ISA Bridge

ชิพ System Controller หรือ AGPSET หรือ North Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลักๆ ความเร็วสูงชนิดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI

ชิพ PCI to ISA Bridge หรือ South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำรอมไออส ฟล็อบปี้ดิกส์ คีย์บอร์ด พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน

ชุดชิพเซ็ตจะมีอยู่ด้วยกันหลายรุ่นหลายยี่ห้อโดยลักษณะการใช้งานจะขึ้นอยู่กับซีพียูที่ใชเป็นหลัก เช่นชุด ชิพเซ็ตตระกูล 430 ของอินเทลเช่นชิพเซ็ต 430FX, 430HX 430VX และ 430TX จะใช้งานร่วมกับซีพียู ตระกูลเพนเทียม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต ตระกูล 440 ของอิเทลเช่นชิพเซ็ต 440FX, 440LX, 440EX และชิพเซ็ต 440BX จะใช้งานร่วมกับ ซีพียูตระกูลเพนเที่ยมโปร เพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน และชุดชิพเซ็ตตระกูล 450 ของอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต 450GX และ 450NX ก็จะใช้งานร่วมกับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทูซีนอนสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ Server หรือ Workstation นอกจากนี้ยังมีชิพเซ็ตจากบริษัทอื่นๆ อีกหลายรุ่นหลายยี่ห้อที่ถูกผลิตออกมา แข่งกับอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต Apollo VP2, Apollo VP3 และ Apollo mVp3 ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin IV+ และ Aladin V ของ ALi และชุดชิพเซ็ต 5597/98, 5581/82 และ 5591/92 ของ SiS สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6x86L, 6x86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต Apollo BX และ Apollo Pro ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin Pro II M1621/M1543C ของ ALi และชุดชิพเซ้ต 5601 ของ Sis สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน ซึ่งชิพเซ้ตแต่ละรุ่น แต่ละยี้ห้อนั้นจะมีจุดดีจุดด้อยแตกต่างกันไป

2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ
ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีต ส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไปออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูตระบบ และสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรม ดังนั้นชิพไบออสจึงไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการเก็บรักษาข้อมูล แต่ชิพซีมอส จะต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยตลอดเวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้า ก็จะมาจากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด (แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ซึ่งภายในจะบรรจุแบตเตอรรี่แบบลิเธี่ยมขนาด 3 โวลต์ไว้) แต่ตอ่มาในสมัย ซีพียตระกูล 80386 จึงได้มีการรวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อว่าชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว และการที่ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกันของชิพไบออส และชิพซีมอสจึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ จึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่จนถึง ปัจจุบัน จึงเห็นได้ว่าเมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่ จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ้ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง เทคโนโลยีรอมไบออส ในอดีต หน่วยความจำรอมชนิดนี้จะเป็นแบบ EPROM (Electrical Programmable Read Only Memory) ซึ่งเป็นชิพหน่วยความจำรอม ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้แรงดันกระแสไฟฟ้าระดับพิเศษ ด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Burst Rom และสามาถลบข้อมูลได้ด้วยแสงอุตราไวโอเล็ต ซึ่งคุณไม่สามารถอัพเกรดข้อมูลลงในไบออสได้ ด้วยตัวเองจึงไม่ค่อยสะดวกต่อการแก้ไขหรืออัพเกรดข้อมูลที่อยู่ในชิพรอมไบออส แต่ต่อมาได้มีการพัฒนา เทคโนโลยชิพรอมขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแบบ EEPROM หรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล ได้ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดายดังเช่นที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

3. หน่วยความจำแคชระดับสอง
หน่วยความจำแคชระดับสองนั้นเป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Sound Card (การ์ดเสียง)


เสียงเป็นส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพ ดังนั้นการ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์ จำเป็นที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อ ให้ได้ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยนน้อยที่สุด ตลอดจนระบบเสียง 3 มิติในปัจจุบัน ความชัดเจนของเสียง จะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่าง และความแม่นยำ ของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนด โดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณ ค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูก กำหนด โดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น
- A/D Converter 8 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
- A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือประสิทธิภาพที่ของเสียง ที่ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Wireless Card


Wireless LAN มีความหมายคือ คำว่า Wireless เป็นคำภาษาอังกฤษที่แปลว่า ไร้สาย ส่วน LAN (Local Area Network) หมายถึงเครือข่าย รวมแล้ว Wireless LAN แปลว่าเครือข่ายไร้ ซึ่งหมายถึง การที่คอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่เชื่อมต่อกัน สื่อสารกัน ส่งไฟล์ ส่งภาพและเสียงถึงกัน ผ่านทาง internet โดยไม่ต้องใช้สายต่อนั่นเอง ง่ายๆก็คือ ถ้าเป็นเครือข่าย LAN ธรรมดา ในกรณีที่เราจะใช้เครือข่าย หรือใช้ internet เราจะเห็นว่าต้องมีสาย ที่มีหัวคล้ายหัวของสายโทรศัพท์ ที่เรียกว่าสายแลน มาเสียบที่ด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่สายหนึ่ง เพื่อให้การส่งข้อมูลที่เราจะส่งไป ผ่านทางสายนี้ แต่ถ้าเป็น Wireless LAN เราไม่ต้องใช้สาย LAN มาเสียบแต่อย่างใด โดยข้อมูลจะวิ่งผ่านคลื่นวิทยุ ลักษณะเดียวกับการฟังวิทยุ ซึ่งมีหลักคือการทำงานจะมีอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ และกระจายสัญญาณ หรือที่เราเรียกว่า Access Point ที่ไปติดตามพื้นที่ให้บริการ และ มี Wireless Card ที่อยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ notebook เป็นตัวรับและส่งสัญญาณ โดยเจ้า Wireless Card นี้ปัจจุบันถ้าท่านซื้อเครื่องใหม่ส่วนมากจะ Buit-in คือมีมาให้เองอยู่แล้ว สามารถรับสัญญาณ Wireless ได้เลย แต่ถ้าเป็นเครื่องเก่าที่ไม่มี Wireless card มาให้ ท่านต้องไปหาเจ้าตัว Wireless Card หรือ USB Adapter มาติดตั้งเพื่อรับส่งสัญญาณ ในการใช้งานเห็นไหมล่ะคะท่าน! ทีนี้เวลาท่านต้องการใช้ internet ท่านก็ไม่จำเป็นต้องนั่งจับเจ่าอยู่กับห้องทำงานหรือห้องที่จัดให้บริการไว้เท่านั้นอย่างเดียวแล้วนะคะ ท่านสามารถยก notebook ของท่านมานั่งทำงานตามสถานที่ที่ให้บริการ wireless โดยไม่ต้องลากสาย LAN ต่อให้ยุ่งยากแล้ว แถมบางสถานที่ยังได้สัมผัสบรรยากาศธรรมชาติ อาจเป็นใต้ต้นไม้ สวนสาธารณะ หรือบริเวณที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจ ที่ จุดให้บริการ Wireless ไปถึงอีกต่างหากนะคะ นี่แหละค่ะที่เค้ากล่าวกันว่ายุคสมัยนี้เราสามารถเสพข้อมูลข่าวสารได้ แบบ Anyone Anytime and Anywhere

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

RAM (เเรม)

ประเภทของแรม (RAM)

โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ Static RAM (SRAM) โดยมีรายระเอียดดังนี้
Static RAM (SRAM) นิยมนำไปใช้เป็นหน่วยแครช (Cache) ภายในตัวซีพียู เพราะมีีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาดความจุสูงๆได้ เนื่องจากกินกระแสไฟมากจนทำให้เกิดความร้อนสูง

Dynamic RAM(DRAM) นิยม นำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปไอซี (Integrated Circuit) บนแผงโมดุลของหน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM,DDR SDRAM,DDR-II และ RDRAM เป็นต้น โดยออกแบบให้มีขนาดความจุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูง
ชนิดของแรมหรือแรม DRAM (ในปัจจุบัน)
DRAM ที่นำมาใช้ทำเป็ฯแผงหน่อยความจำหลักของระบบชนิดต่างๆในปัจจุบันดังนี้

SDRAM (Synchronous DRAM)
ตัวชืปจะใช้บรรจุภัณฑ์ (Package) แบบ TSOP (Thin Smail Outine Package) ติดตั้งอยู่บน แผงโมดูล แบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาน 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลด์ ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่น PC-66 (66 MHz), PC-100 (100 MHz), PC-133 (133 MHz) และ PC-150 (150MHz) ปัจจุบันหมดความเป็นที่นิยมไปแล้ว จะพบได้ก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆทั้งนั้น

DDR SDRAM (Double Date Rate SDRAM)

ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาด ความยาวของแผงโมดูลเท่ากัน คือ 5.25 นิ้ว ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขาใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลด์ รองรับความจุสูงสุดได้ 1 GB/แผง ความเร็วบัสในปัจจุบันมีใหเเลือกใช้ตั่งแต่ 133 MHz (DDR-266) ไปจนถึง 350 MHz (DDR-700) สำหรับ DRAM ชนิดนี้ปัจจุบันกำลังจะตกรุ่น
การจำแนกรุ่นของ DDR SDRAM นอกจากจะจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น DDR-400 (400 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา๗ x 2 (จำนวนครั้งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่าอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Bandwidth) ที่มีหน่วยความจำเป็นเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s) ด้วยเช่น PC3200 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างของบัสขนาด 8 ไบต์ หรือ 64 บิต) x 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบสัญญาณนาฬิกา)เท่ากับอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 3,200 MB/s โดยประมาณนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีรุ่นอื่นๆอีก เช่น PC2100 (DDR-266), PC2700(DDR-33), PC3600 (DDR-450), PC4000(DDR-500),PC4200(DDR-533), และ PC5600 (DDR-700) เป็นต้น

ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ FBGA (Fine-Pitch Ball Gril Array) ที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำก่าแบบ TSOP อีกทั่งยังสามารถออกแบบให้ตัวชิปมีขนาดเล็กแ
ะบางลงได้ ชิปดังกล่าวถูกติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั่งสิ้น 240 ขา ใช้แรงดันไฟเพียง1.8โวลต์ รองรับความจุได้สูงสุดถึง 4 GB ความเร็วบัสในบัจจุบันมีให้เลือกใช้ตั่งแต่ 200 MHz (DDR2-400) ไปจนถึง 450 MHz (DDR2-900) สำหรับ DRAM ชนิดนี้ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนคาดว่าในอีกไม่ช่าจะเข้ามาแทนที่มาตรฐานเดิมคือ DDR SDRAM ในที่สุด
นอกจากรุ่นของ DDR-II นอกจากจำแนกออกตามความเร็วของบัสที่ใช้งาน เช่น DDR2-667 (667 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 333 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ด้วย เช่น PC2-5400 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างของบัสขนาด 8 ไบต์) x 333 MHz ( ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ระรอบของสัญญาณนาฬิกา๗ เท่าอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 5,400 MB/s โดยประมั่นเอง นอกจากนี้ยังมีรุ่นอื่นๆอีกเช่น PC2-4300 (DDR-533),PC2-6400(DDR2-800) และ PC2-7200 (DDR2-900) เป็นต้น

RDAM (RAMBUS DRAN)

ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Rambus lnc โดยนำมาใช้งานครั้งแรกร่วมกับชิปเซ็ต i850 และซีพียู Pemtium 4 ของ Intel ในยุคเริ่มต้น ปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร โดยชิปเซ็ตและเมนบอร์ดของ Intel เพียงบางรุ่นเท่านั้นที่สนับสนุน ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ CSP (Chip-Scale Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ RIMM (Rambus Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ และรองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 2 GB ปัจจุบัน RDRAM ที่มีวางขายในท้องตลาด สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

RDRAM (16บิต) เป็น RDRAM แบบ Single Channel ที่มีความกว้างบัส 1 แชนแนลขนาด 16 บิต (2ไบต์) มีจำนวลขาทั้งสิ้น 184 ขา การจำแนกรุ่นโดย มากจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น PC-800 (800 MHz),PC-1066(1,066 MHZ) และ PC-1200 (1,200 MHz) เป็นต้น
RDRAM(32บิต) เป็น RDRAM แบบ Dual Channel ที่มีความกว้างบัส 2 แชแนลขนาด 32 บิต (4ไบต์) มีจำนวนขาทั้งสิ้น 242 ขา การจำแนกรุ่นโดยมากจะจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ที่ได้รับ เช่น RIMM 3200(PC-800),RIMM 4200(PC-1066),RIMM 4800(PC-1200) และ RIMM 6400 (PC-1600) เป็นต้น
นอกจากนี้ในอนาคตยังอาจพัฒนาให้มีความกว้างบัสเพิ่มมากขึ้นถึง 4 แชนแนลขนาด 64 บิต(8 ไบต์) ที่ทำงานด้วยความเร็วบัสสูงถึง 1,333 และ 1,600 MHz effective ออกมาด้วย โดยจะให้แบนด์วิดธ์มากถึง 10.6 และ 12.8 GB/s ตามลำดับ

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สเปคคอมพิวเตอร์ในงบ10000 บาท

Mainboard SOCKET 775
ASUS P5-G41T-M LX ราคา 1840 บาท
: ชิพเซ็ต Intel G41/ICH7 : ซีพียู Intel 45nm multi-core : กราฟฟิกการ์ด Intel GMA X4500 : เสียง ALC887 8-Ch CODEC : สนับสนุน DDR2 800 ถึง 1333 : RAM socket สนับสนุนได้ถึง 8GB : เครือข่าย LAN (10/100

CPU
INTEL 775 PENTIUM-D E5300 2.60 GHz. ราคา 2100
Intel Pentium Processor : หมายเลข โปรเซสเซอร์ E5300 : หน่วยความจำแคช 2 MB L2 : จำนวน Core 2 Core : สัญญาน Clock Speed 2.6 GHz : ความเร็วบัส 800 MHz FSB : ใช้ระบบเทคโนโลยี 64 บิต

Ram
2 GB. DDRII-800 KINGMAX ราคา 1460 บาท

Harddisk SATA
250 GB. PC HITACHI SATA (B/F 8MB) ราคา 1290 บาท
HITACHI (B/F 8MB) : การเชื่อมต่อแบบชนิด SATA II : ขนาดความจุข้อมูล 250 GB. : ความเร็วในการหมุนแผ่นแม่เหล็กที่ 7200 RPM. : มีหน่วยความจำบัฟเฟอร์ขนาด 8 MB

VGA Card
XFX 8400GS/256 D2 PV-T86SYANG ราคา 1300 บาท

case
Asus "TA-851" Vento Black/Silver ATX Mid Tower Case Retail ราคา 780 บาท

Power Supply
500w Neo GD-500W-S-B ราคา 490 บาท


รวมเงินทั้งสิ้น: 9290 บาทถ้วน